ถังออกซิเจนราคา เท่าไหร่? แพงไหม? มีวิธีการใช้งานอย่างไร?
ถังออกซิเจน คืออุปกรณ์ที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หายใจไม่สะดวก เหนื่อยหอบ โรคปอดเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ฯลฯ เพื่อช่วยทดแทนปริมาณออกซิเจนในร่างกายที่สูญเสียไป เพื่อให้หายใจได้ดีขึ้นหรือกลับมาหายใจได้เป็นปกติอีกครั้ง และยังช่วยในการทำงานของปอดและหัวใจด้วย เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นทางการแพทย์ และยังใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและการดูแลคนใกล้ตัวอย่างถูกวิธี เราไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้กันว่ามีวิธีการใช้งานอย่างไร และ ถังออกซิเจนราคา เท่าไหร่?
อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ออกซิเจน ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไร?
· ถังออกซิเจน เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุด เป็นถังทรงกระบอกสูง มีตั้งแต่ขนาด 0.5 – 6 คิว มีทั้งชนิดที่ผลิตจากเหล็กและอะลูมิเนียม ถังเหล็กจะมีสีเขียว เป็นชนิดที่นิยมใช้ในโรงพยาบาล ส่วนถังอะลูมิเนียมจะเป็นสีของโลหะ ข้อดีคือ ป้องกันการเกิดสนิม แต่ถังออกซิเจนราคาจะสูงกว่าแบบเหล็ก
· หัวเกจ์ เป็นเกจ์แสดงการทำงานที่ใช้ต่อเข้ากับตัวถัง เพื่อทำหน้าที่รับออกซิเจนจากตัวถังส่งต่อไปยังกระบอกให้ความชื้น แล้วส่งออกซิเจนออกไปทางสายให้ออกซิเจน
· กระบอกทำความชื้น เพราะไม่สามารถให้ออกซิเจนโดยตรงกับผู้ป่วยได้ การให้ออกซิเจนจะต้องให้ผ่านน้ำ จึงจำเป็นต้องใช้กระบอกทำความชื้นเพื่อใส่น้ำสะอาดไว้ด้านในในการให้ออกซิเจน
· น้ำสะอาด ควรเลือกใช้น้ำสะอาดที่ปราศจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ เช่น Sterile Water หรือน้ำต้มสุก ไม่ควรใช้น้ำประปาเพราะจะทำให้เกิดตะกรันได้
· ประแจ ใช้เพื่อล็อกหัวเกจ์เข้ากับตัวถังให้แน่น เพื่อให้ออกซิเจนไม่รั่วไหลออกมาขณะเปิดใช้งาน
ถังออกซิเจนราคา เท่าไหร่? แพงไหม?
เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง โดยราคาจะปรับขึ้นตามขนาดของตัวถัง และอาจมีปรับขึ้นปรับลงตามราคาตลาด ราคาของถังขนาดเล็ก 0.5 คิว หรือประมาณ 3.3 ลิตร จะอยู่ที่ประมาณ 2,500 บาท การใช้งาน หากให้ออกซิเจนปริมาณ 2 ลิตรต่อนาที ที่ 1,500 psi จะสามารถใช้ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง 40 นาที ถัดไปที่รุ่นใหญ่ ขนาด 6 คิว หรือประมาณ 40 ลิตร ถังออกซิเจนราคาประมาณ 5,000 บาท ให้ออกซิเจนปริมาณ 2 ลิตรต่อนาที ที่ 2,000 psi ได้ประมาณ 45 ชั่วโมงกว่า ๆ
ขั้นตอนการประกอบใช้งานอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
· นำเกจ์วัดแรงดันออกซิเจนต่อเข้ากับตัวถังแล้วหมุนให้แน่น
· ใช้ประแจขันล็อกอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าออกซิเจนจะไม่รั่วไหลออกมาได้
· เติมน้ำสะอาดลงไปในกระบอกทำความชื้นโดยให้เติมตามขีดที่กำหนดด้านบน ไม่ควรเติมน้ำเกินขีดบน เพราะจะทำให้น้ำเข้าไปในสายออกซิเจนได้ และไม่ควรให้ระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าขีดล่าง
· นำกระบอกทำความชื้นต่อเข้ากับหัวเกจ์ แล้วหมุนให้แน่น
· หมุนเปิดตัวถังให้สุด เพื่อให้ออกซิเจนไหลออก แล้วหมุนให้ออกซิเจนในปริมาณที่แพทย์กำหนด แต่ถ้าอยากรู้ว่าออกซิเจนด้านในตัวถังมีปริมาณเท่าไหร่ก็สามารถดูปริมาณออกซิเจนจากมาตรวัดได้เลยว่าเหลือปริมาณเท่าไหร่
· ต่อสายออกซิเจนเข้ากับกระบอกทำความชื้น ต่อเข้าไปให้แน่นเพื่อไม่ให้หลุดออกง่าย
· หมุนปรับระดับออกซิเจนในปริมาณที่กำหนด โดยหมุนขึ้นไปให้ลูกบอลด้านในตรงกับตัวเลขที่กำหนด เช่น 3 ลิตร ให้ลูกบอลอยู่ที่เลข 3
· ตรวจสอบปลายสายออกซิเจนว่ามีออกซิเจนออกหรือไม่ หากออกจะมีลมออกมา หากไม่มีให้ตรวจสอบขั้นตอนการจ่ายออกซิเจนและสายว่ามีการรั่วหรือไม่
· หลังใช้งานแล้วให้หมุนปิดระดับออกซิเจนและปิดหัวถังให้สนิททุกครั้ง
ข้อควรระวังและเรื่องที่ควรรู้ในการใช้งาน
· ไม่เปิดออกซิเจนทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้งาน เพราะจะทำให้ออกซิเจนระเหยออกหมด
· ตรวจสอบระดับออกซิเจนในถังก่อนใช้งานทุกครั้ง เพื่อคำนวณเวลาการใช้งานได้ง่ายขึ้น
· เติมน้ำให้อยู่ในปริมาณที่กำหนดก่อนใช้ และไม่ควรปล่อยให้น้ำแห้ง
· ไม่ปรับระดับออกซิเจนเกินขนาดที่กำหนด ควรให้ออกซิเจนในระดับที่แพทย์แนะนำเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
· ควรเปลี่ยนน้ำในกระบอกทำความชื้นทุกวัน เพื่อความสะอาดในการใช้งาน และควรทำความสะอาดกระบอกด้วย
· ระวังไม่ให้สายพับหรือหักขณะให้ออกซิเจน เพราะจะทำให้ออกซิเจนไหลออกไม่ได้
· ตั้งถังบนพื้นเรียบ เพื่อป้องกันถังล้ม เพราะถังสามารถระเบิดได้
ถังออกซิเจนราคาอยู่ที่ประมาณ 2.500 – 5,000 บาท โดยราคานี้จะเป็นราคาตัวถังเพียงอย่างเดียว หากต้องการแบบพร้อมชุดอุปกรณ์ราคาจะสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละชุด
