Categories
Health Care

รถเข็นผู้ป่วย

ประโยชน์ของ รถเข็นผู้ป่วย กับการเลือกใช้งานอย่างถูกวิธี มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างไร?

รถเข็นผู้ป่วย หรือวีลแชร์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง กระดูกขา เท้า หรือกล้ามเนื้อ ทำให้เดินไม่ได้หรือเดินไม่สะดวก การนั่งรถเข็นจึงช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น เห็นได้จากสถานพยาบาลหรือตามสถานที่ต่าง ๆ ที่จะมีรถเข็นไว้ให้บริการผู้ป่วยในกลุ่มนี้อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานกับผู้ป่วยที่บ้านได้ เพื่อความสะดวกในการดูแลและการเดินทาง

ความแตกต่างของวีลแชร์แต่ละประเภทและประโยชน์การใช้งาน

· แบบมีผู้ช่วยเข็น (Transport wheelchair) เป็นรถเข็นผู้ป่วยที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ดูแลหรือผู้ช่วยเข็น เข็นผู้ป่วยเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก ควบคุมทิศทางโดยผู้ช่วยเข็น เป็นชนิดที่นิยมใช้ในโรงพยาบาลเพราะมีน้ำหนักเบาและมีราคาไม่สูง มีทั้งแบบพับได้และแบบพับไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข็นเองได้หรือไม่สามารถใช้มือหรือแขน

· แบบใช้มือหมุนด้วยตนเอง (Manually propelled wheelchair) จะมีลักษณะคล้ายกับรถเข็นแบบผู้ช่วยเข็นแต่จะออกแบบมาให้มีล้อหลังที่ใหญ่กว่า เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมทิศทางได้ง่ายขึ้น เป็นชนิดที่ผู้ป่วยสามารถใช้มือหมุนที่วงล้อด้านนอกเพื่อควบคุมทิศทางต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวหรือเบรก

· รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า เป็นรถเข็นที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ผู้ป่วยสามารถควบคุมทิศทางเองได้ผ่านแผงหรือปุ่มควบคุมบนตัวรถเข็น โดยจะมีตำแหน่งอยู่ใกล้ ๆ กับที่พักมือเพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมได้ง่ายขึ้น สามารถเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หมุนหรือกลับรถ และเบรกได้ ปรับความเร็วได้หลายระดับ สามารถใช้ขึ้น – ลงทางลาดชันได้ ส่วนมากแล้วล้อจะออกแบบมาให้ใช้ได้กับทุกพื้นผิว เป็นรถเข็นที่ใช้งานได้ทั้งระบบไฟฟ้าและแบบผู้ช่วยเข็น

ประโยชน์ของ รถเข็นผู้ป่วย ที่น่ารู้

· ใช้เป็นยานพาหนะสำหรับผู้พิการขา เพื่อช่วยให้ผู้พิการเดินทางได้อย่างสะดวก สามารถเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ เพราะตามระบบขนส่งหรือสถานที่ต่าง ๆ จะมีทางสำหรับรถเข็นผู้ป่วยไว้ให้บริการอยู่แล้ว

· ช่วยอำนวยความสะดวกนอกสถานที่ ใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือในจุดให้บริการเพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่มาใช้บริการ

· ใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างสะดวก สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้หรือผู้ป่วยที่มีการเดินที่ผิดปกจะเคลื่อนย้ายได้ค่อนข้างลำบาก ในการเคลื่อนย้ายจึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยให้เคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก และช่วยลดอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยขณะเคลื่อนย้าย

· ช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกไปสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความผ่อนคลาย สำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือต้องรักษาตัวเป็นเวลานานอาจทำให้เบื่อกับบรรยากาศแบบเดิม ๆ การได้พาออกไปสูดอากาศด้านนอกจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้วีลแชร์และการเข็นผู้ป่วย

· เลือกรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะกับสรีระของผู้ป่วย ควรมีขนาดที่พอดีกับผู้ป่วย นั่งสบาย ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะหากเล็กเกินไปจะทำให้อึดอัด หรือหากใหญ่เกินไปจะทำให้ลื่นหล่นได้ง่าย

· ให้ผู้ป่วยนั่งในท่าที่สบาย ไม่เกร็ง ก่อนเข็นทุกครั้งควรให้ผู้ป่วยนั่งในท่าที่สบายก่อน ไม่เทน้ำหนักตัวไปทางใดทางหนึ่งเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้เข็นง่ายขึ้น

· ถอยหลังลงในทางลาดชัน หากเป็นทางลาดชันควรค่อย ๆ ถอยหลังลง เพราะควบคุมได้ง่ายกว่าการเข็นโดยเอาหน้าลง อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ป่วยด้วย เพราะการเข็นเอาทางหน้าลงมีโอกาสสูงที่รถเข็นจะไหลลื่นลงไปและหลุดมือจนเสียการควบคุมได้

· ลดความเร็วเมื่อเลี้ยวโค้ง เพื่อช่วยให้เข้าโค้งได้ง่ายขึ้นและนิ่มขึ้น ไม่ส่ายไปมา

· เมื่อต้องเข็นลงทางขรุขระควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อน เพราะผู้ป่วยอาจตกใจกับแรงกระแทกได้ และให้ผู้ป่วยจับรถเข็นเอาไว้เพื่อช่วยทรงตัว

· เข็นด้วยความระมัดระวัง ไม่เข็นเร็วจนเกินไป ควรเข็นด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ เพราะหากรถเข็นไปชนกับวัตถุอื่นหรือมีแรงกระแทกแรง ๆ จะทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บและเกิดอันตรายได้ ควรเข็นในทางสำหรับรถเข็นเพื่อความปลอดภัย

· ล็อกล้อเมื่อจอดอยู่กับที่ เพื่อป้องกันไม่ให้รถเข็นไหล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข็นเองได้ เพราะจะทำให้รถเข็นไหลและเกิดอันตรายได้

รถเข็นเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากการใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยแล้วยังช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระด้วย ส่วนในการใช้งานควรหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดีในการใช้งาน   

รถเข็นผู้ป่วย
รถเข็นผู้ป่วย วีลแชร์เช็นผู้ป่วย

Leave a Reply