เครื่องวัดความดัน อุปกรณ์จำเป็นในยุคนี้ที่ควรมีประจำบ้าน
ไม่น่าเชื่อเลยว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่าง เครื่องวัดความดัน จะกลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต้องมีประจำบ้านในแต่ละบ้านไปแล้วในยุคนี้ อาจจะมีบางความเห็นมองต่างออกไปอาจคิดว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่จำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้วใครจะรู้บ้างว่า สำหรับประชากรไทยแล้วเรามีอัตราผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี และไม่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น อัตราของผู้ป่วยเป็นโรคความดันสูงจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกก็เพิ่มสูงขึ้นในทุกปีด้วยเช่นกัน นั่นจึงสะท้อนว่าทุกบ้านทุกครอบครัวควรจะมีอุปกรณ์สำหรับช่วยตรวจสอบวัดค่าความดันโลหิตเอาไว้ประจำบ้านเพื่อเช็กสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว
ต้องรู้อะไรบ้างก่อนเลือกซื้อเครื่องวัดความดันมาใช้งาน
โดยปกติแล้วเมื่อเราอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดโรคความดันก็มีมากขึ้น โรคความดันโลหิตนั้นมีความเกี่ยวข้องกับอายุด้วย นั่นหมายความว่าถ้าบ้านไหนมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้านด้วย ก็มีอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดค่าความดันในร่างกายเอาไว้ เมื่อจะซื้อเครื่องวัดความดันมาใช้งาน หลายคนก็ไม่รู้ว่าควรจะเลือกซื้อแบบไหนดี จึงมีคำแนะนำเบื้องต้นในการเลือกซื้อดังนี้
· ใช้งานง่ายต้องใช้เป็นเครื่องวัดแบบดิจิทัล – อุปกรณ์วัดความดันโลหิตนั้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่เป็นปรอทวัดความดัน และแบบที่เป็นดิจิทัล ถ้าผู้ใช้งานไม่ได้มีความรู้ความชำนาญในการใช้งานอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็แนะนำให้ซื้อเป็นแบบดิจิทัลมาใช้งาน ราคาอาจจะสูงกว่าแบบปรอทเล็กน้อย แต่การใช้งานจะง่ายกว่า ไม่ต้องมีความชำนาญหรือทักษะใด ๆ ก็สามารถใช้งานได้
· ใช้งานไม่บ่อยให้เลือกเครื่องแบบใช้แบตเตอรี่ – ถ้าไม่ได้ใช้งานวัดความดันบ่อยนัก ก็แนะนำให้เลือกซื้อเครื่องแบบที่ใช้แบตเตอรี่ ราคาก็จะย่อมเยาลงมากว่าแบบที่มี adaptor
· ต้องเป็นเครื่องวัดที่ได้มาตรฐาน – อุปกรณ์วัดความดันในปัจจุบันมีผลิตออกมาจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อ จนบางทีก็เลือกซื้อลำบาก แต่จะเป็นยี่ห้อไหนก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือต้องได้มาตรฐาน โดยก่อนจะเลือกซื้อให้สังเกตเครื่อง CE หรือเครื่องหมาย UL เครื่องหมายทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าอุปกรณ์นั้น ๆ ได้มาตรฐานทางการแพทย์
· การรับประกัน – อีกสิ่งที่สำคัญแนะนำนำว่า ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีการรับประกันประมาณ 2 ปีขึ้นไป
การอ่านค่าต่าง ๆ บนเครื่องวัดความดัน
หลังจากที่ซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยตรวจสอบความดันมาแล้ว ทีนี้ก็ต้องมารู้วิธีการใช้งานและการอ่านค่าต่าง ๆ ปกติแล้วถ้าเป็นเครื่องแบบดิจิทัลก็จะใช้งานได้ไม่ยาก แค่สวมปลอกแขนเข้าไปที่แขนข้างที่จะทำการวัดความดัน กดปุ่มเปิดเครื่อง ระบบของเครื่องก็จะทำการปั๊มลมและทำการวัดค่าความดันให้แบบอัตโนมัติ และวิธีการอ่านค่าความดันบนหน้าปัดอุปกรณ์ก็ไม่มีอะไรซับซ้อน
· ตัวเลขด้านบน – เป็นค่าตัวเลขความดันในช่วงที่หัวใจบีบตัว ถ้าตัวเลขอยู่ที่ต่ำกว่า 130 ก็ถือว่าความดันปกติ แต่ถ้าตัวเลขสูงกว่านั้นขึ้นไปถึง 140 – 159 ก็จัดว่าความดันสูง
· ตัวเลขด้านล่าง – เป็นค่าตัวเลขความดันในช่วงที่หัวใจคลายตัว ถ้าตัวเลขไม่เกิน 85 ก็ถือว่าความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนถ้าตัวเลขขึ้นไปที่ 90 – 99 ก็จะถือว่าความดันสูง
การอ่านค่าตัวเลขความดันโลหิตบนหน้าปัดอุปกรณ์วัดความดัน เราจะดูค่าตัวเลขทั้งตัวบนตัวล่างประกอบกันถึงทั้ง 2 ตัว โดยปกติแล้วตัวเลขจะมีความสัมพันธ์กัน ถ้าความดันปกติตัวเลขทั้ง 2 ตัวก็จะอยู่ในเกณฑ์ปกติเหมือนกัน และถ้าความดันสูง ตัวเลขก็จะขึ้นไปสูงทั้ง 2 ค่าเช่นกัน อาจจะมีค่าตัวเลขที่ผกผันกันไปบ้างในบางครั้ง ก็ให้ทิ้งช่วงสักระยะแล้วกลับมาวัดค่าใหม่ก็จะได้ตัวเลขที่แน่ชัดมากขึ้น
โรคความดันโลหิตสูงนั้นถือว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่อันตรายและคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนไม่น้อยแล้ว พิษภัยจากโรคนี้อาจทำให้เส้นเลือกในสมองตีบหรือแตกได้ และที่สำคัญหากเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว มักจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ง่าย ส่วนใหญ่แล้วโรคความดันโลหิตสูงกับโรคเบาหวานมักจะมาพร้อมกัน บางคนก็อาจเป็นโรคหัวใจร่วมด้วย จึงถือว่าเป็นภัยเงียบที่น่าเป็นห่วงไม่น้อย มีเครื่องวัดความดันไว้ประจำบ้านก็จะช่วยได้อีกทาง เพราะอย่างน้อย ๆ เราจะได้คอยตรวจสอบได้ว่าช่วงไหนที่เราหรือคนในครอบครัวของเรากำลังเผชิญกับอันตรายจากความดันสูง รู้ล่วงหน้าย่อมดีกว่าเสมอ